
Contents
- 1 Google Search Console คืออะไร
- 2 Google Search Console ทำอะไรได้บ้าง
- 3 ขั้นตอนการติดตั้ง Google Search Console ดูได้ตามนี้
- 4 รายละเอียดของแต่ละ Function ใน Google Search Console
- 5 แผงควบคุม (Dashboard)
- 6 ข้อความ (Messages)
- 7 ลักษณะที่ปรากฎของการค้นหา (Search Appearance)
- 8 ปริมาณการค้นหา (Search Traffic)
- 9 ดัชนีของ Google (Google Index)
- 10 การรวบรวมข้อมูล (Crawl)
- 11 ปัญหาด้านความปลอดภัย (Security Issues)
- 12 ทรัพยากรอื่นๆ (Other Resources)
Google Search Console คืออะไร
Google Search Console คือเครื่องมือสำหรับผู้ดูแลเว็บไซต์ (Web Master), ผู้ดูแลการตลาตทั้งภายในและภายนอกบริษัท, ผู้สร้างเว็บไซต์ (Web Developer) เป็นต้น
Google Search Console ผลิตโดย Google และไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งาน
นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้จาก Google Search Console มีประโยชน์สำหรับการทำ SEO
*Google Search Console เปลี่ยนชื่อมาจาก Google Webmaster Tool เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2015
Google Search Console ทำอะไรได้บ้าง
รู้จักเว็บไซต์ของคุณในมุมมองของ Google
ลักษณะหน้าตาเว็บไซต์ที่คุณมองเห็น กับ ลักษณะหน้าตาเว็บไซต์ที่ Google มองเห็นจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน
ซึ่งเราต้องให้ความสำคัญกับลักษณะหน้าตาเว็บไซต์ที่ Google มองเห็นมากกว่าในการทำ SEO
สามารถตั้งค่าบางอย่างผ่าน Google Search Console ได้
สามารถตั้งค่าเกี่ยวกับ Structured Data ที่ใช้ใน Rich Snippet บางอย่างเช่น Rich Cards, Data Highlighter เป็นต้น
นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่า และตรวจสถานะของ Accelerated Mobile Pages, robots.txt, xml sitemap ได้ด้วย
ได้รับการแจ้งเตือนจาก Google
คุณจะได้รับการแจ้งเตือนจาก Google เมื่อเว็บไซต์เกิดความผิดปกติ เช่น Server มีปัญหาหน้าเว็บไซต์ไม่แสดง, จำนวนคนที่เข้ามายังเว็บไซต์มากกว่าปกติ, Malware เข้ามาในเว็บไซต์ เป็นต้น
นอกจากนี้หากคุณทำผิดนโยบายของ Google และ Google จับได้คุณก็จะได้รับการแจ้งเตือน
ขั้นตอนการติดตั้ง Google Search Console ดูได้ตามนี้
รายละเอียดของแต่ละ Function ใน Google Search Console
คำอธิบายของแต่ละ Function ใน Google Search Console สำหรับเวอร์ชั่นภาษาไทย
แปลออกมาได้ไม่ดีเท่าไหร่ เมื่ออ่านแล้วอาจจะทำให้สับสนมากขึ้น เราจึงเพิ่มภาษาอังกฤษกำกับไว้ในวงเล็บ ( ) ต่อท้ายคำภาษาไทยทุกครั้ง
แผงควบคุม (Dashboard)
แผงควบคุมจะแสดงข้อความใหม่จาก Google และสถานะปัจจุบันของเว็บไซต์ ดังนี้
ข้อความใหม่ และข้อความสำคัญ (New and Important)
พื้นที่นี้จะแสดงข้อความใหม่ และข้อความที่สำคัญจาก Google
โดยจะมีสัญญาณเตือนของปัญหาสำคัญ ถ้าพบว่ามีข้อความปรากฏ รีบเช็คทันที และดำเนินการแก้ไข
สถานะในปัจจุบัน (Current Status)
พื้นที่นี้จะแสดงสถานะปัจจุบันของเว็บไซต์ 3 หัวข้อที่สำคัญ ดังนี้
■ ข้อผิดพลาดในการรวบรวมข้อมูล (Crawl Errors)
■ การวิเคราะห์สำหรับการค้นหา (Search Analytics)
■ Sitemaps
ข้อความ (Messages)
ข้อความจาก Google ทั้งหมดสามารถเช็คได้จากที่นี่ หากพบว่า Google แจ้งปัญหาอยู่ในข้อความนี้
แนะนำให้รีบแก้ไขทันที
ลักษณะที่ปรากฎของการค้นหา (Search Appearance)
ข้อมูลที่มีโครงสร้าง (Structured Data)
Google จะใช้ Structured Data ที่คุณกำหนดเอาไว้เพื่อที่จะแสดงใน Rich Snippet ในหน้าแสดงการค้นหา พื้นที่นี้จะแสดงข้อมูลที่คุณกำหนดไว้ และ Error
รายละเอียดเพิ่มเติมของ Rich Snippet & Structured Data ดูได้ตามลิงก์ด้านล่าง
LINK
การ์ดสื่อสมบูรณ์ (Rich Cards)
แสดงการตั้งค่าของ Rich Cards ของเว็บไซต์คุณ
Rich Cards เป็น Rich Snippet ประเภทหนึ่งที่เพิ่มฟีเจอร์ให้รูปภาพสามารถเลื่อนซ้ายขวา (Carousel Feature) ได้
Rich Cards มีผลใน Recipe, Movie ใน Google USA เท่านั้น ซึ่งยังไม่มีในประเทศไทย
Rich Cards แสดงเฉพาะในมือถือเท่านั้น
ตัวอย่างรูปภาพของ Rich Cards
เครื่องมือเน้นข้อมูล แสดงข้อมูลของเว็บไซต์คุณในการค้นหา (Data Highlighter)
Data Highlighter คือเครื่องมือใหม่ที่แจ้ง Structured Data ให้ Google ทราบ
โดยปกติใช้ Meta Data ใน HTML เพื่อแจ้ง Structured Data
Data Highlighter สามารถแจ้ง Structured Data โดยไม่ต้องแก้ไข Source Code
สำหรับคนที่เคยแก้ไข Meta Data เพื่อแจ้ง Structured Data แล้ว ก็ไม่ต้องตั้งใน Data Highlighter ซ้ำ
การปรับปรุง HTML (HTML Improvements)
ในพื้นที่นี้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับ Meta Tag, Title Tag, Meta Description ในเว็บไซต์ของคุณว่าซ้ำกันไหม ยาวไปไหม สั้นไปไหม เป็นต้น
หน้าสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบเร่ง (Accelerated Mobile Pages)

Accelerated Mobile Pages หรือเรียกสั้นๆว่า AMP คือหน้าที่ถูกปรับปรุงเพื่อแสดงหน้าสำหรับมือถือให้เร็วมากขึ้น
พื้นที่นี้จะแสดงสถานะ และ Error เกี่ยวกับการตั้งค่าของ AMP ในเว็บไซต์ของคุณ
รายละเอียดของ AMP ได้ตามลิงก์ด้านล่าง
LINK
ปริมาณการค้นหา (Search Traffic)
ภาษาไทยของ Google บอกว่า ปริมาณการค้น แต่จริงๆ แล้วมีมากกว่านั้น ละเอียดกว่านั้น
เช่น แสดงจำนวนลิงก์จากภายนอกที่มายังเว็บไซต์ของคุณ, จำนวนโครงสร้างลิงก์ภายในเว็บไซต์ของคุณ, แสดงการลงโทษจากเจ้าหน้าที่ของ Google เป็นต้น ซึ่งจะชี้แจงรายละเอียดของแต่ละฟังก์ชั่น ดังนี้
Analytics สำหรับการค้นหา (Search Analytics)
Search Analytics เป็นฟังก์ชั่นที่สำคัญมากๆ ใน Search Console เพราะจะแสดงผลวิเคราะห์ของพื้นที่การค้นหา
แบบธรรมชาติ สามารถเช็คได้ว่า User ที่เข้ามา มาจาก Keyword ไหน, มีการแสดงผลของ Keyword แต่ละคำกี่ครั้ง, คลิกกี่ครั้ง, มี CTR เท่าไหร่, ตำแหน่งโดยเฉลี่ยอยู่ที่เท่าไหร่ เป็นต้น และ Search Analytics สามารถเก็บข้อมูลจำนวนครั้งที่แสดงผลในหน้าแสดงผลการค้นหาของ Google ได้อีกด้วย ซึ่งต่างจาก Google Analytics ที่เก็บข้อมูลได้เฉพาะคนที่เข้ามาถึงเว็บไซต์แล้วเท่านั้น
รายละเอียด Search Analytics ของ Search Console ดูได้ตามลิงก์ด้านล่าง
LINK
ลิงก์ไปยังไซต์ของคุณ (Links to Your Site)
พื้นที่นี้แสดงข้อมูลของลิงก์ที่เข้ามาถึงเว็บไซต์ของคุณจากเว็บไซต์อื่น คุณจะได้ตรวจสอบว่ามีลิงก์มาจากที่ไหนบ้าง และถ้ามีลิงก์ที่ไม่ดีก็ต้องระวัง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถจับได้ลิงก์ทั้งหมด เพราะไม่ค่อยมีความแม่นยำเท่าไหร่
ลิงก์ภายใน (Internal Links)
Internal Links ลิงก์ที่เข้ามาจากหน้าอื่นภายในเว็บไซต์ โดยพื้นที่นี้จะแสดงว่าหน้าไหนมีจำนวนลิงก์ภายในเข้ามาเท่าไหร่ และมาจากหน้าไหน เป็นต้น
การดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ (Manual Actions)
เป็นฟีเจอร์ที่สำคัญมาก พื้นที่นี้จะแสดงข้อความแจ้งเตือนบทลงโทษจาก Google
ซึ่งผลที่ได้รับจาการลงโทษ คือ อันดับเว็บไซต์ของคุณอาจจะตก หรือไม่ได้รับการ Index จาก Google เป็นต้น
หากมีข้อความเตือนในนี้หมายความว่า Google ได้ลงโทษเว็บไซต์คุณเรียบร้อยแล้ว
ในข้อความเตือน Google จะอธิบายละเอียดว่าเว็บไซต์ของคุณถูกลงโทษด้วยเหตุผลอะไร
แนะนำให้คุณอ่านดีๆ และรีบแก้ไขอย่างเร็วที่สุด
การลงโทษนี้ทำโดย “เจ้าหน้าที่ของ Google” ที่เป็นคน ไม่ได้เป็นการลงโทษแบบอัตโนมัติจาก Algorithm
การกำหนดเป้าหมายระหว่างประเทศ (International Targeting)
เมื่อเว็บไซต์มีหลายภาษา คุณควรจะใช้ hreflang เพื่อให้ Google ทราบว่าหน้าไหนเป็นหน้าภาษาอะไร
และเป็นข้อมูลสำหรับประเทศไหน
สำหรับเว็บไซต์ที่มีภาษาเดียว และใน Tab “ประเทศ” ถ้าระบุเป็นประเทศของคุณแล้วก็ไม่ต้องแก้ไขอะไรใน Tab “ภาษา”
Google จะใช้ปัจจัยหลายอย่างในการเลือกภาษา และตัดสินใจอัตโนมัติว่าเว็บไซต์ของคุณสำหรับประเทศอะไร และใช้ภาษาอะไร แต่หากประเทศที่ Google เลือกไว้ไม่ตรงกับประเทศที่เป็นเป้าหมายของคุณ คุณก็ต้องแก้ไข
ละเอียดการแก้ไขการกำหนดเป้าหมายระหว่างประเทศดูได้จากลิงก์ด้านล่าง
LINK
การใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Moblie Usability)
พื้นที่นี้ใช้เช็คว่าเมื่อมีผู้ชมใช้มือถือเข้าไปยังเว็บไซต์ของคุณแล้ว มีปัญหาอะไรหรือไม่ ในหน้าไหนบ้าง และมีปัญหาอะไร เป็นต้น
ถ้าคุณเน้นคนที่เข้ามาจากมือถือ เมื่อเกิดปัญหาก็ต้องรีบแก้ไขทันที แต่ถ้าเน้นมาจาก PC ก็อาจจะไม่ต้องทำอะไร
ดัชนีของ Google (Google Index)
ตัวบ่งชี้ที่ Google ใช้ดูเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งประกอบได้ด้วย ดังนี้
สถานะดัชนี (Index Status)
แสดงจำนวนหน้าที่ Google รวบรวม และ Index ไปว่ามีจำนวนเท่าไหร่, มีหน้าไหนบ้างที่มีการตั้งค่าโดย robots.txt ว่าไม่ให้เข้ามา Index เป็นต้น นอกจากนี้คุณสามารถเช็คได้ว่าในหน้าที่คุณตั้งว่าไม่ให้ Google เข้ามา Index นั้นเป็นหน้าที่ถูกต้องหรือไม่ โดยดูได้จาก URL ที่แสดง หากไม่ถูกต้องก็รีบแก้ไข
คำหลักของเนื้อหา (Content Keywords)
พื้นที่นี้แสดงจำนวนครั้งของ Keyword ที่ปรากฏในเว็บไซต์ของคุณ
Google จะใช้ข้อมูลดังกล่าววิเคราะห์ว่าเว็บไซต์ของคุณให้ความสำคัญกับอะไร
ถ้าไม่พบ Keyword สำคัญของคุณในพื้นที่นี้ แนะนำให้เพิ่ม Keyword นั้นในเว็บไซต์ของคุณ
ทรัพยากรที่ถูกบล็อก (Blocked Resources)
พื้นที่นี้แสดงรายชื่อ Javascript, CSS หรือ รูปภาพ ที่ Google เข้าไปอ่านไม่ได้โดยการตั้งค่าของ robots.txt
ลบ URL (Removed URLs)
พื้นที่นี้แสดงรายชื่อ URL ที่คุณลบจากหน้าแสดงผลการค้นหาของ Google
ซึ่งคำว่า “ลบ” ในที่นี่ หมายถึง ไม่ให้แสดงในหน้าแสดงการค้นหาของ Google เฉยๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าลบออกจากเว็บไซต์ไปเลย และไม่ได้ลบออกจากการ Index ของ Google
ฟังก์ชั่นนี้ใช้ได้ชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งเมื่อใช้ฟังก์ชั่นนี้แล้ว คุณก็ต้องแก้ปัญหาใน Source Code ด้วย
การรวบรวมข้อมูล (Crawl)
ปกติ Google จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมด (Crawl) มาก่อน และจัดเก็บใน Data Base อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า Index
โดยข้อมูลที่เกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลของ Google ใน Google Search Console มีดังนี้
ข้อผิดพลาดในการรวบรวมข้อมูล (Crawl Errors)
พื้นที่ Crawl Errors แสดง Error เมื่อ Google ทำการ Crawl (เก็บข้อมูล, index)
โดยแสดงว่ามีการ Error ประเภทไหน ที่หน้าไหน ในอุปกรณ์ประเภทไหน
– ข้อผิดพลาดของไซต์ (Site Errors)
พื้นที่นี้แสดงปัญหาในเว็บไซต์ของคุณ 3 อย่างตามด้านล่าง
DNS, Server และปัญหาโดย robots.txt ทั้ง 3 อย่างสำคัญมากๆ หากพบว่ามีปัญหาให้รีบแก้ไข
– ข้อผิดพลาดของ URL (URL Errors)
พื้นที่นี้แสดง Error ของแต่ละหน้า (URL)
เมื่อคลิกที่ URL ที่เกิดปัญหาแล้วก็จะเห็นรายละเอียดของปัญหาที่เกิดขึ้น
สถิติการรวบรวมข้อมูล (Crawl Stats)
พื้นที่นี้แสดงสถิติการรวบรวมข้อมูล (Crawl) ของ Googlebot มี 3 อย่าง ดังนี้ “รวบรวมข้อมูลกี่หน้าต่อวัน”, “กิโลไบต์ที่ดาวน์โหลดต่อวัน” และ “itptเวลาที่ใช้ในการดาวน์โหลดหนึ่งหน้านานเท่าไหร่”
เวลาที่ใช้ในการดาวน์โหลดหนึ่งหน้า หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Sitespeed” หรือ “Pagespeed”
ดึงข้อมูลเหมือนเป็น Google (Fetch as Google)
สิ่งที่ทำได้ในพื้นที่นี้มี 2 อย่าง ดังนี้
1. เช็คเว็บไซต์เหมือน Google ในสายตา Google, เที่ยบดูได้ว่าเว็บไซต์ในสายตาของ Browser
กับสายตา Google นั้นต่างกันอย่างไร
อ่านรายละเอียดการเปรียบเทียบโดย Fetch as Google เพิ่มเติมได้ตามลิงก์ด้านล่าง
LINK
2. เรียก Googlebot เข้ามา index ข้อมูล ใช้ในกรณีที่มีการปรับปรุงข้อมูลใหม่ในเว็บไซต์
อ่านรายละเอียดการเรียก Googlebot โดย Fetch as Google เพิ่มเติมได้ตามลิงก์ด้านล่าง
LINK
ผู้ทดสอบ robots.txt (robots.txt Tester)
สิ่งที่ทำได้ในพื้นที่นี้มี 2 อย่าง ดังนี้
1. ทดสอบ robots.txt
2. แก้ไข robots.txt และแจ้ง Google
Sitemap
สิ่งที่ทำได้ในพื้นที่นี้มี 3 อย่าง ดังนี้
1. ส่ง xml sitemap ให้ Google
2. ทดสอบ xml sitemap
3. เช็คข้อมูล (Webpage, รูปภาพ) ทีส่งโดย xml sitemap ว่าถูก Index เท่าไหร่และมี Error อะไร
พารามิเตอร์ URL (URL Parameters)
พื้นที่นี้จะแจ้ง Google ว่า URL ไหนให้ Index และ URL ไหนไม่ให้ Index
พื้นที่นี้เหมาะสำหรับคนที่มีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างเว็บไซต์, Server และ Data Base ขั้นสูงเท่านั้น
ปัญหาด้านความปลอดภัย (Security Issues)
พื้นที่นี้จะแสดงปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยของเว็บไซต์ของคุณ เช่น มี malware ในเว็บไซต์ของคุณ, เว็บไซต์ของคุณโดนโจมตีจากที่อื่น เป็นต้น ก็จะได้รับการแจ้งเตือนจาก Google
ทรัพยากรอื่นๆ (Other Resources)
พื้นที่นี้แสดงรายชื่อลิงก์ไปยังเครื่องมืออื่นๆ ของ Google