
เนื้อหาซ้ำกัน (Dupicate Content) หมายความว่ามีเนื้อหาเดียวกัน หรือมีเนื้อหาเหมือนกัน
บางส่วนอยู่ใน URL ที่ต่างกัน
ในบทความนี้เราอธิบายถึงเฉพาะกรณีที่มีเนื้อหาซ้ำกันในเว็บไซต์ของคุณเอง
สำหรับกรณีที่ปัญหาเนื้อหาซ้ำกันกับเว็บไซต์อื่นๆ สามารถดูได้จากลิงก์ด้านล่าง
—
เมื่อมีเนื้อหาซ้ำกันภายในเว็บไซต์ของคุณอาจทำให้ประสิทธิภาพของ Backlink น้อยลง
ซึ่งการซ้ำกันของเนื้อหาภายในเว็บไซต์นั้นมีหลายกรณี ดังนี้
Contents
ประเภทของกรณีที่ทำให้เกิดเนื้อหาซ้ำกันภายในเว็บไซต์
กรณีที่มี WWW กับ ไม่มี WWW
กรณีที่มี WWW กับ ไม่มี WWW ก็ถือว่าเป็นเนื้อหาซ้ำกัน
บางเว็บไซต์สามารถแสดงข้อมูลในเว็บไซต์ได้ทั้งแบบที่มี WWW และ ไม่มี WWW ซึ่ง Google มองว่ามี 2 เว็บไซต์ที่เนื้อหาซ้ำกัน ซึ่งมีผลต่อ Backlink ที่เข้ามา
สมมุติว่าเว็บไซต์ของคุณมีลิงก์เข้ามาจากเว็บไซต์อื่น 50 ลิงก์ โดยปกติก็จะเพิ่มประสิทธิภาพให้เต็มที่ในเว็บไซต์เดียว 50 ลิงก์ แต่เมื่อเข้ามาแล้วพบว่ามี 2 เว็บไซต์ที่เนื้อหาซ้ำกัน อาจทำให้ Backlink ต้องแยกไปยังที่มี WWW 20 ลิงก์ และไม่มี WWW 30 ลิงก์ หรืออาจจะแบ่งลิงก์ออกมากน้อยกว่านั้นตามที่ Google จัดการให้
การแสดงข้อมูลของเว็บที่มี WWW กับ ไม่มี WWW จะแสดงข้อมูลในทั้งสองแบบแต่
ถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งไม่แสดงหน้าเลย นั่นไม่ได้หมายความว่ามีหน้าซ้ำ แต่แย่กว่านั้นมาก
ซึ่งย่างไรก็ตามควรตั้งให้ถูกต้องจะดีกว่า
วิธีการแก้ไขให้ตั้ง 301 Redirect ให้ไปที่ URL ใด URL หนึ่ง
แล้วควรจะเลือกตั้งไปที่ URL แบบมี WWW หรือไม่มี WWW แบบไหนดีกว่ากัน
สามารถดูรายละเอียดที่เพิ่มเติมได้ด้านล่าง
กรณีที่มีแบบ “index” “index.html” “index.php” เป็นต้นของท้าย URL
ในกรณีนี้สาเหตุส่วนใหญ่มาจากโครงสร้างเว็บไซต์ หรือ CMS ที่ทุกเว็บไซต์ต้องมี
ซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยการตั้ง 301 Redirect ไปยังหน้าที่ต้องการ
กรณีที่มี / กับ ไม่มี / ตรงท้าย URL
อันนี้ก็ถือว่ามีหน้าซ้ำกัน ซึ่งเป็นเนื้อหาซ้ำกัน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการตั้งลิงก์ภายในผิด
วิธีแก้ที่ดีที่สุดคือเขียน URL ของลิงก์ให้ถูกต้อง แต่กรณีที่หาไม่เจอ หรือเกิดจาก CMS ที่ใช้ และแก้ไขลิงก์ไม่ได้ ก็ตั้งสามารถ 301 Redirect ไปยังหน้าที่ต้องการ
วิธีป้องกันเนื้อหาซ้ำกันหากมีความจำเป็นต้องแสดงเนื้อหาเดียวกันใน URL ที่ต่างกัน
หากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เนื้อหาเดียวกันใน URL อื่นๆ สามารถตั้ง Canonical Tag ได้ ซึ่ง Canonical Tag เป็น Tag ที่บอกให้ Google รู้ว่า URL ไหนคือ Original เพื่อที่ Google จะได้ให้ความสำคัญกับหน้าที่นั้นได้ถูกต้อง
อ่านรายระเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Canonical Tag ได้ตามลิงก์ด้านล่าง
—
กรณีที่มีหน้าสำหรับ PC และหน้าสำหรับ Mobile ใน URL ที่ต่างกันโดยมีเนื้อหาซ้ำกัน
ใช้วิธีที่เรียกว่า Annotation เพื่อให้ Google เข้าใจชัดเจนว่ามีหน้าสำหรับ PC และหน้าสำหรับ Mobile
สามารถดูรายละเอียดที่เพิ่มเติมได้ด้านล่าง
—
สรุปว่า กรณีที่จำเป็นต้องแสดงเนื้อหาเดียวกันใน URL ที่ต่างกัน ควรตั้ง 301 Redirect
ไปที่ URL ใด URL หนึ่ง แต่ถ้าตั้งไม่ได้ ก็ควรที่จะตั้ง canonical เพื่อให้ Google รู้ว่า URL ไหนเป็น URL ที่ถูกต้อง หรือ original